วันอังคารที่ 3 มกราคม พ.ศ. 2555

สื่อการสอนวัสดุ

  สื่อวัสดุสามมิติและสื่ออิเล็กทรอนิกส์
        สื่อวัสดุสามมิติ  หมายถึง  สื่อที่มีความกว้าง  ยาว  หนาหรือลึก  สามารถรับรู้ได้หลายมุมมอง  และรับรู้ได้ด้วยประสาทสัมผัสหลายทาง  การตั้งแสดงวัสดุสามมิติที่มีขนาดเล็กทำได้สะดวกและอิสระ  อาจใช้ร่วมกับวัสดุอื่นๆก็ได้  เช่น  หุ่นจำลอง  ของจริง  ป้ายนิเทศ  ตู้อันตรทัศน์
สื่อประเภทวัสดุ
       สื่อวัสดุอิเล็กทรอนิกส์  (Electronic  Material  Media)  ได้เป็นที่ยอมรับกันว่าปัจจุบันสื่อประเภทอิเล็คทรอนิคส์ได้เข้ามีบทบาทต่อการดำเนินชีวิตของมนุษย์และสังคมแทบทุกสาขาอาชีพไม่ทางตรงก็ทางอ้อมไม่ว่าจะเป็นสื่อทางภาพและเสียง เช่น วีซีดี (VCD) ดีวีดี (DVD) ดีวีฟอร์แม็ต (DV Format) เอ็มเพ็ค (MPEC) ฯลฯ  ดังนั้นเพื่อให้ครูผู้สอนหรือผู้ที่เกียวข้องกับการใช้สื่ออิเล็กทรอนิคส์ได้คุ้ยเคยกับ
วัสดุดังกล่าว จึงเสนอเนื้อหาพอสังเขปเพื่อเป็นพื้นฐานเบื้องต้นในการใช้งานและการศึกษาค้นคว้าในขั้นสูงต่อไป
    สื่อวัสดุสองมิติ
       วัสดุกราฟิก  หมายถึง  สื่อการเรียนการสอนที่มีองค์ประกอบสำคัญคืองานกราฟิก  ได้แก่  ภาพเขียนทั้งที่เป็นภาพสี  ภาพขาวดำ  ตัวหนังสือ  เส้นและสัญลักษณ์  อย่างไรก็ดีงานกราฟิกทั้งหลายแม้ว่าจะเป็นงานที่เกี่ยวข้องกับการวาดภาพ  การเขียนภาพระบายสีเช่นเดียวกับงานศิลปะแต่ต่างก็มีความหมายและจุดมุ่งหมายในการสร้างสรรค์แตกต่างกัน  กล่าวคืองานกราฟิกในสื่อการเรียนการสอนมีวัตถุประสงค์เพื่อการสื่อความหมายและถ่ายทอดความรู้ไปสู่ผู้เรียน  ส่วนงานศิลปะ (Art)  สร้างสรรค์ขึ้นเพื่อความงามและความพอใจ  โดยศิลปินและผู้ชมจะใช้การสื่อและเสพรสของความงามด้วยอารมณ์และความรู้สึก
ประโยชน์ของวัสดุกราฟิก
        วัสดุกราฟิกทุกชนิดมีประโยชน์ต่อการเรียนการสอนดังนี้
<!--[if !supportLists]-->1.   ช่วยให้ผู้เรียนและผู้สอนเข้าใจเนื้อหาบทเรียนได้ตรงกัน
<!--[if !supportLists]-->2.   <!--[endif]-->ช่วยให้ผู้เรียนเรียนรู้ได้ดีกว่าการฟังคำบรรยายเพียงอย่างเดียว
<!--[if !supportLists]-->3.   ช่วยอธิบายสิ่งที่ยากให้เข้าใจความหมายได้ง่ายขึ้น
<!--[if !supportLists]-->4.   ประหยัดเวลาการเรียนรู้ด้วยการแปลความหมายจากรูปภาพ  และสัญลักษณ์
<!--[if !supportLists]-->5.   รูปภาพ  สัญลักษณ์  สามารถกระตุ้นความสนใจผู้เรียนได้ดีกว่าตัวหนังสืออย่างเดียว
ประเภทของสื่อวัสดุ
สื่อวัสดุที่ใช้กับการเรียนการสอนในปัจจุบัน  หากจำแนกตามคุณลักษณะที่ปรากฏให้เห็นมีดังนี้
<!--[if !supportLists]-->1.              <!--[endif]-->สื่อวัสดุสองมิติ 
โดยทั่วไปหมายถึง  สื่อวัสดุกราฟิกซึ่งมีรูปร่างแบน  ไม่มีความหนา  มีองค์ประกอบสำคัญคือ  รูปภาพ  ตัวหนังสือ  และสัญลักษณ์  สื่อเหล่านี้ได้แก่  กราฟ (graphs)  แผนภูมิ (charts)  ภาพพลิก (flipcharts)  ภาพโฆษณา (porters)  ภาพชุด (flash  cards)  แผ่นโปร่งใส (transparencies)
<!--[if !supportLists]-->2.              <!--[endif]-->สื่อวัสดุสามมิติ
เป็นสื่อที่สร้างมาจากวัสดุต่างๆ  สามารถตั้งได้ด้วยตัวมันเอง  ที่นิยมใช้กับกระบวนการเรียนการสอน  ได้แก่  หุ่นจำลอง (models)  ของจริง (real  objects)  ของตัวอย่าง (specimens)  ป้ายนิเทศ (bulletin  boards)  กระดานแม่เหล็ก (magnify  boards)  ตู้อันตรทัศน์ (diorama)
<!--[if !supportLists]-->3.              <!--[endif]-->สื่อวัสดุอิเล็กทรอนิกส์
เป็นสื่อที่ใช้กับเครื่องอิเล็กทรอนิกส์ต่างๆ  มีทั้งประเภทเสียงอย่างเดียวและประเภทที่มีทั้งภาพและเสียงอยู่ด้วยกัน  เช่น  เทปเสียง (tape)  ม้วนวีดิทัศน์ (video  tape)  แผ่นซีดี (CD-Rom)  วีซีดี (VCD)  ดีวีดี (DVD)  เป็นต้น
     ความหมายของสื่อวัสดุ
            คำว่า วัสดุ  หมายถึง  สิ่งของที่มีขนาดเล็กบางอย่างที่มีความทนทานสูง  แต่บางอย่างฉีกขาดแตกหักชำรุดเสียหายได้ง่าย  เรียกว่าวัสดุสิ้นเปลือง  เช่น  กระดาษ  กาว  สี  เชือก  กิ่งไม้  ใบไม้  เป็นต้น
วัสดุมีหลายประเภทขึ้นอยู่กับเกณฑ์ในการจำแนก  เช่น  วัสดุตามธรรมชาติ  วัสดุประดิษฐ์  วัสดุถาวร  วัสดุสิ้นเปลือง  วัสดุแข็ง  วัสดุเหลว  วัสดุสองมิติ  วัสดุสามมิติ  เมื่อนำวัสดุเหล่านี้มาใช้ประกอบการเรียนการสอนจึงเรียกว่า สื่อวัสดุ  ซึ่งเป็นสื่อขนาดเล็กที่มีศักยภาพในการบรรจุเก็บเนื้อหาและถ่ายทอดความรู้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ  บางชนิดสื่อความหมายได้ด้วยตัวมันเอง  เช่น  แผนภูมิ  แผนภาพ  แผนสถิติ  โปสเตอร์  แต่บางชนิดมีขนาดเล็กมากต้องอาศัยเครื่องมืออุปกรณ์ในการฉายเพื่อขยายเนื้อหาสาระให้มีขนาดใหญ่หรือเสียงดังขึ้นจึงจะสื่อความหมายอย่างชัดเจน  เช่น  ฟิล์มสไลด์  ฟิล์มภาพยนตร์  เทปเสียง  แผ่นโปร่ง  เป็นต้น

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น